Select Page

เปิดดู พยากรณ์อากาศจาก ดาวเทียมที่บ้าน

เปิดดู พยากรณ์อากาศจาก ดาวเทียมที่บ้าน

ก่อนก้าวเท้าออกจากบ้าน ยามเห็นท้องฟ้าหม่นๆ ด้วยเมฆฝนปกคลุม ก็ดูท่าจิตใจจะมัวหมองนิดๆ ด้วยหวั่นเหตุฝนตกทีไร น้ำท่วม ทำรถติดเป็นแพ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เป็นเช่นนั้นแทบจะทุกที เพื่อให้ชีวิตราบรื่น การวางแผนเพื่อการเดินทางจึงจำเป็นยิ่งนัก

          ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ศวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมีบริการ พยากรณ์สภาพอากาศที่http://stks.or.th/wiki ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปวิเคราะห์สภาพพายุ ความเร็วที่ศูนย์กลาง และความเร็วของการเคลื่อนตัว ซึ่งเป็นการพยากรณ์อากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ ชั่วโมง ด้วยการถ่ายภาพจากดาวเทียม ด้วยคลื่นในย่านอินฟราเรด มองเห็นทั้งกลางวันและกลางคืนชัดเท่ากัน อาศัยข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยโกชิ (Kochi University)

          อย่างภาพประกอบที่ มีเมฆหมอกปกคลุมเหนือพื้นที่ประเทศไทย ดาวเทียมอ่านข้อมูลได้ว่า ตรงไหนมีสีขาวแปลว่ามีเมฆ การมีเมฆไม่ได้แปลว่ามีฝน ภาพถ่ายดาวเทียมชุดนี้มองไม่เห็นฝน แต่เมื่อนำภาพแต่ละชั่วโมงมาต่อกันเป็นภาพยนตร์ ทำให้เราสามารถบอกได้ว่ากลุ่มเมฆใด เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใดหากเมฆกลุ่มใด เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูง กลุ่มนั้นคือพายุ เมฆกลุ่มใดมีลักษณะเป็นก้นหอย และหมุนไว แปลว่าเป็นพายุไต้ฝุ่น หรือพายุไซโคลน เราสามารถหาความเร็วของจุดศูนย์กลางได้ว่าเป็นเท่าใด และพอจะอนุมานได้ว่า วันพรุ่งนี้พายุจะไปทางไหน ฯลฯ

          หรือภาพถ่ายฝน ด้วยระบบเรดาร์ (Doppler Radar Imaging) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยาและสำนักฝนหลวง รวบรวมโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถแสดงให้เราเห็นพื้นที่และปริมาณฝนที่จะตกลงมา จากการอ่านภาพถ่ายฝน โดยตรงไหนมีสีบนแผนที่ แปลว่าบริเวณนั้นมีฝน สีต่างๆ เป็นตัวบอกว่ามีปริมาณฝนมากน้อยไม่เท่ากัน ทางวิทยาศาสตร์นับเป็น dBZ พอสรุปคร่าวๆ ว่าสีอ่อนๆ ถึงสีเขียว แปลว่ามีฝนเล็กน้อย เมื่อไล่เป็นฟ้า แปลว่าฝนหนัก สีแดงแปลว่าฝนหนักมาก หากท่านใช้แผนที่ให้เป็นประโยชน์ จะเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้แม่นยำถึงระดับตำบล บอกได้ว่าฝนตกตรงไหน ไม่ตกตรงไหน เวลาใด ไม่ได้รายงานเหมารวมเป็นภาคเหมือนกรมอุตุนิยมวิทยา

          การให้บริการพยากรณ์สภาพอากาศนี้ ศวท. มีบริการพยากรณ์อากาศรายจังหวัด ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อการศึกษาแนวโน้มของอากาศโดยทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้การพยากรณ์อากาศแม่นยำขึ้น และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนำไปวิเคราะห์สภาพพายุ ความเร็วที่ศูนย์กลาง และความเร็วของการเคลื่อนตัว

          หน่วยงานในต่างประเทศบางแห่ง ได้เปิดบริการพยากรณ์อากาศลงไปในระดับพื้นที่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลไปวิเคราะห์สภาพพายุ ความเร็วที่ศูนย์กลางและความเร็วของการเคลื่อนตัว เนื่องจากมีการเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกันผ่านเครือข่าย accuweather.com

          เรื่องเทคนิคที่ว่ายาก เป็นความจำเพาะของความรู้อย่างกรมอุตุนิยมวิทยา เวลานี้ย่อโลกและความง่ายมาไว้ในคอมพิวเตอร์ พร้อมคำแนะนำ เพื่อความเข้าใจให้เราเข้าใจแบบง่ายๆ ได้แล้ว…ชวนกันเปิดเข้าไปสัมผัสกันดูไม่ยากอย่างที่เคยคิด–จบ–

 

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.