Select Page

ดีเอสไอร่วมพันธมิตร 3 ฝ่าย สืบอาชญกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาเครื่องจับเท็จไร้สาย

ดีเอสไอร่วมพันธมิตร 3 ฝ่าย สืบอาชญกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาเครื่องจับเท็จไร้สาย

ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีเป็นสิ่งดีหากใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ แต่ทางกลับกัน ถ้าอาชญากรรู้จักพลิกแพลงนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือกระทำผิด จะส่งผลเสียต่อสังคมและประชาชนอย่างร้ายแรงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีและบุคลากรให้รู้เท่าทันเหล่ามิจฉาชีพด้วย

ที่มา:หนังสือพิมพ์มติชน วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2552

โดย:จตุพร พ่วงทอง

             ซึ่ง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มพันธมิตร 3 ฝ่าย ประกอบด้วยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.พว.) หรือเนคเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ นายนนทวัฒน์ จันทร์เจริญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงนามบันทึกข้อตกความร่วมมือการเพิ่มขีดความสามารถด้านการสืบสวนการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิตอล

         computer-crash นายธาริตบอกว่า ปัจจุบันอาชญากรมักอาศัยเทคโนโลยีอันรวดเร็วเป็นเครื่องมือสำคัญในการก่อเหตุ อย่างการปล่อยข่าวลือเพื่อทุบหุ้น หรือโทรศัพท์ให้โอนเงินผ่านตู้ กดเงินสดอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) หากเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่มีเครื่องมืออันทันสมัยสำหรับสืบสวนปราบปราม จะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสืบสวนจับกุม และในอนาคตอาจมีพวกย่ามใจใช้ช่องทางดังกล่าวก่อเหตุมากขึ้น

          “จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ดีเอสไอต้องสร้างหุ้นส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับอาชญากรรทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบแลกเปลี่ยนบุคลากรและการจัดอบรม และถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานร่วมกันต้องการให้การทำงานเกิดจากการสร้างองคาพยพ หรือที่เรียกว่าดรีมทีม เพราะส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางทีดีเอสไอจะเป็นซุปเปอร์แมนทำทุกอย่างได้เพียงคนเดียว”

          สำหรับขอบเขตความร่วมมือที่สำคัญ เริ่มจากเฟ้นหาและแลกเปลี่ยนบุคลากรได้แก่ นักวิจัย อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ จนถึงนักศึกษา จะจัดประชุม อบรม และสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบพยานหลักฐานดิจิตอล ขณะที่ ศอ.พว.และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนงานวิเคราะห์ข้อมูลในคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษตามที่ร้องขอรวมถึงสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือที่จำเป็นในการสืบสวนอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิตอล นอกจากนี้ โครงการย่อยภายใต้บันทึกข้อตกลงจัดทำเป็นรูปแบบความตกลงแต่ละโครงการเป็นกรณีด้วย ทั้งนี้ ความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงมีกำหนดเวลา 3 ปี

          ทั้งนี้ นายธาริตได้ยกตัวอย่างเครื่องมือที่พันธมิตร 3 ฝ่ายตกลงร่วมมือพัฒนาเป็นพิเศษคือ โปรแกรม TAD หรือ Thermal Analyzer for Deceptive Detection ซึ่งเวอร์ชั่นปัจจุบัน คือ v.2.7 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับตรวจจับเท็จแบบไม่สัมผัสmalware

          ซึ่ง ดร.ศรันย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีโฟโตนิกส์ของเนคเทค อธิบายคุณสมบัติเครื่องจับเท็จแบบไม่สัมผัส ระบบดิจิตอล ว่าจัดเป็นคเรื่องมือสนับสนุนงานสืบสวนของดีเอสไอให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ของผู้ต้องสงสัย มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับเครื่องจับเท็จทั่วไป แตกต่างตรงที่ไม่มีสายระโยงระยางไปถึงผู้ถูกตรวจสอบ สะดวกกับพนักงานสอบสวนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องฉายภาพอยู่แล้ว

          “ผู้ถูกตรวจสอบจะไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือกดดันเหมือนเครื่องจับเท็จแบบมีสาย ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากคลื่นความร้อนด้วยหลักการถ่ายเทความร้อนควบคู่ไปกับการติดตามบริเวณที่ต้องการบนใบหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ”

          ขณะที่ พ.ต.อ.ดุษฎี อายวุฒิ รักษาการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ดีเอสไอใช้เครื่องจับเท็จแบบไม่สัมผัส จับเท็จมากกว่า 30 ครั้ง นานกว่า 2 ปีแล้ว สามารถวิเคราะห์ผลจับเท็จได้ทันทีหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ มีการตั้งคำถามจากนักจิตวิทยาเพื่อให้ได้ประเด็นตรงตามที่ต้องการหาความจริงที่สำคัญพบความแม่นยำกว่าเครื่องจับเท็จปกติกว่า 84 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเครื่องมือที่ทั่วโลกยอมรับ

          “อย่างคดีก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบเครื่องจับเท็จแบบไม่สัมผัสช่วยได้มาก เนื่องจากความเชื่อของศาสนาอิสลามถึงเรื่องการพูดปด อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องจับเท็จต้องดำเนินการควบคู่กับการแสวงหาพยานหลักฐานทางคดีเพื่อเพิ่มน้ำหนักในศาลรับฟังด้วย”

          ทั้งหลายทั้งปวงเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้รู้เท่าทันอาชญากรที่มักพลิกแพลงเทคนิคในการก่อเหตุตามยุคสมัยและมีอุปกรณ์อันทันสมัยสำหรับจัดการได้อย่างทันท่วงที

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.