Select Page

‘แพธ’ชี้คำถามยอดฮิตวัยรุ่น ติดโรคเอดส์ต้องทำอย่างไร

‘แพธ’ชี้คำถามยอดฮิตวัยรุ่น ติดโรคเอดส์ต้องทำอย่างไร

การเปรียบเทียบระหว่างเด็กที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ และไม่มีเพศสัมพันธ์ ที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์  และวัยรุ่นในสถานศึกษาในเขต กทม.2,564 คน พบกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์ จำนวน 333 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี ขณะที่เด็กในสถานศึกษาแยกเป็นกลุ่มที่ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์แล้ว 513 คน อายุเฉลี่ย 19 ปี เด็กในสถานศึกษาที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ 1,718 คน อายุเฉลี่ย 16 ปี

          นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลีนิคเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงการสำรวจต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน เปรียบเทียบระหว่างเด็กที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ และไม่มีเพศสัมพันธ์ ทั้งที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์ และวัยรุ่นในสถานศึกษาในเขต กทม.2,564 คน ช่วง 3 เดือน ของปี 2551-2552 พบกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์ จำนวน 333 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี ขณะที่เด็กในสถานศึกษาแยกเป็นกลุ่มที่ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์แล้ว 513 คน อายุเฉลี่ย 19 ปี เด็กในสถานศึกษาที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ 1,718 คน อายุเฉลี่ย 16 ปี

          “จากข้อมูลที่ได้ เด็กที่เข้าร่วมในโครงการเลิฟแคร์มีต้นทุนชีวิตมากกว่าและเข้าแข็งที่จะเผชิญความจริงถึง 80% ส่วนเด็กในสถานศึกษาทั้ง 2 กลุ่มกลับอ่อนแอเรื่องดังกล่าว โดยกลุ่มเด็กในสถานศึกษาที่มีเพศสัมพันธ์แล้วจะมีทักษะในการปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์ต่ำสุดคือ 65% และมีจุดยืนต่อการมีเพศสัมพันธ์เพียง 42% ต่ำกว่าทักษะปฏิเสธ แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เด็กยุคใหม่จะมีทักษะที่จะปฏิเสธ แต่กลับยอมรับการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้นขณะที่ผู้หญิงยังมีทักษะปฏิเสธและมีจุดยืนต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ดีกว่าผู้ชาย”

          นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ที่ปรึกษาองค์การแพธแห่งประเทศไทย (PATH) กล่าวว่ การสำรวจผู้ใช้บริการทางเพศในโครงการเลิฟแคร์ ในเขต กทม.จำนวน 333 คนดังกล่าวนั้น มีอายุ 13-25 ปี แบ่งเป็นชาย 34.8% หญิง 64%  เพศทางเลือก 1.2% ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน นักศึกษา มากที่สุด 48.6% จากข้อมูลในรอบ 12 เดือน เพศชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิง 81.2% เพศเดียวกัน 18.8% ซึ่งถ้ามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันจะใช้ถุงยางอนามัย 100% แต่กับเพศตรงข้ามจะใช้เพียง 33.9% ขณะที่เพศหญิงก็ใช้ถุงยางอนามัย 38% เท่านั้น และพบวัยรุ่นหญิงที่เคยยุติการตั้งครรภ์ 1.6% ในจำนวนผู้เข้ารับบริการต้องการตรวจเลือด 173 คน พบติดเชื้อเอดส์ 5 คน อีก 202 คน พบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 43 คน หรือ เกือบ 1 ใน 4

          “คำถามที่วัยรุ่นเข้ามาถามในโครงการ อันดับที่ 1 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคเอดส์ ว่าถ้าติดแล้วต้องทำอย่างไร รักษาอย่างไร อันดับที่ 2 จะเป็นโรคติดเชื้อทางเพศอื่นๆ ว่ากินยาจะหายไหม รักษาอย่างไร ส่วนอันดับที่ 3 จะเป็นเรื่องการท้องไม่พร้อม” นพ.วัชระกล่าว–จบ–

          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.