Select Page

เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เว็บแห่งความเท่าเทียม

เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เว็บแห่งความเท่าเทียม

ในโลกยุคเทคโนโลยีที่มีข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลอยู่ในอินเทอร์เน็ทจำนวนมากมายมหาศาล เป็นแหล่งความรู้และความบันเทิงใกล้ตัวและราคาถูก   แต่ประโยชน์ทั้งหมดจะตกแก่ผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ทเท่านั้น  ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการน้อยคนนักที่จะได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ท หากผู้สร้างเว็บไซต์ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานของพวกเขา   

 

เรื่อง อรรถนนท์ จันทร์ทวีศักดิ์

          อุปสรรคของคนพิการแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันออกไป อาทิ คนตาบอดไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ เขาจึงต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ในการเคลื่อนไหว  คนพิการทางหูไม่สามารถได้ยินเสียงจึงต้องเรียนรู้การอ่านปากเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสาร ผู้ที่ไม่สามารถพูดได้ก็ต้องใช้ภาษามือแทน เป็นต้น  นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของอุปสรรคที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคนพิการ

          อินเทอร์เน็ท เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในโลกปัจจุบัน และมีประโยชน์สำหรับทุกคนที่สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ  สาระน่ารู้ต่างๆ ไปจนถึงความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ก็หาได้จากอินเทอร์เน็ทแทบทั้งสิ้น

         แต่คนพิการ…จะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ทได้หรือไม่ อย่างไร?รูปคนตาบอดกดแป้นพิมพ์

                 “คนพิการจำเป็นต้องใช้หรือ?”

         และอีกมากมายหลายคำถามที่ออกมาจากความคิดของแต่ละคน…… แล้วถ้าคนพิการ เหล่านั้นย้อนกลับมาถามตัวคุณล่ะ ว่า

         “คุณจะรับรู้ข่าวสารไปทำไม ?”

         “คุณจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ททำไม?”

          “ทำไมคนพิการถึงใช้อินเทอร์เน็ทไม่ได้….?”

             ผมตั้งคำถามเหล่านี้ตลอดเวลาให้กับตัวเอง จนผมได้มีโอกาสได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ที่จัดขึ้นภายใต้การดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มีจำนวนทั้งหมด 30 คนภายในระยะเวลา 5 วัน จากต่างสาขาอาชีพ ทั้งมีความรู้อยู่แล้วบ้าง ไม่มีบ้าง ปะปนกันไป…….

          “เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้” ฟังดูแล้วก็ดูเหมือนเว็บไซต์ทั่วๆไป แต่เมื่อผมได้เข้าไปอบรม ฯ  ระดับต้น สำหรับโปรแกรมเมอร์ ทั้งๆที่ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ หรือแม้กระทั้งความรู้เรื่องโปรแกรมเมอร์เลย และก็ยังไม่สามารถรู้ว่า “เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้”  นี้เป็นเว็บอย่างไร……

           เว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility ) เป็นเว็บที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ทในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือ ภาพ เสียงและมัลติมีเดีย ที่สามารถสร้างมารองรับคนพิการ เช่น คนตาบอด คนสายตาเลือนราง คนหูหนวก หูตึง บกพร่องทางการเรียนรู้  บกพร่องทางการเคลื่อนไหว  บกพร่องทางการสื่อสารและการพูด  คนที่มีอาการแพ้แสง (ลมชัก) หรือพิการซ้ำซ้อน (รวมถึงรวมถึงผู้สูงอายุและผู้ใช้งานทั่วไป) ที่ขาดทางเลือกในการเข้าถึงข้อมูลที่จะได้รู้

           อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทางเลือกหรือวิธีการที่ช่วยให้คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กันเช่น ตัวหนังสือ ภาพ เสียงและมัลติมีเดียในอินเทอร์เน็ทได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่คนพิการในการนำข้อมูลข่าวสารที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

            จากความหมายข้างต้นทำให้ผมคิดถึงแล้วเว็บไซต์ในปัจจุบัน แตกต่างกับเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างไรขึ้นมาทันที ซึ่งแน่นอนจึงทำให้ผมมุ่งตรงไปถามยังผู้รู้ที่มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้

รูปชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์             อาจารย์ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์ วิทยากรและส่งเสริมพัฒนาเว็บไซต์  กล่าวว่า “โดยส่วนใหญ่ นักพัฒนาเว็บไซต์ของไทยนั้นยังไม่รู้จักมาตรฐานนี้มากเท่าไรนัก  ซึ่งทำให้ไม่ได้เล็งเห็นว่ามีคนหลายกลุ่ม เช่น ผู้พิการหรือผู้สูงอายุ ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหานั้นๆได้

             ดังนั้นการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ต่างๆในโลกอินเทอร์เน็ท จึงทำให้หน่วยงาน W3C เล็งเห็นว่า เนื้อหาต่างๆในเว็บไซต์นั้นควรต้องมีมาตรฐาน ดังนั้น W3C ได้ออกมาตรฐาน WCRG ขึ้นมา รวมถึงมีกิจกรรมและเปิดสอนหลักสูตรสอนโปรแกรมเมอร์เพื่อให้พัฒนาเว็บไซต์ให้เข้าถึงได้

             WCRG นั้นเป็นมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดย W3C เพื่อให้ programmer นั้นเข้าใจว่าคนที่เข้าถึง เว็บไซต์นั้นอาจมาจากคนหลายกลุ่มรวมทั้งกลุ่มผู้พิการทางสายตา หรือผู้สูงอายุ เป็นต้น อีกอย่างคือ เรื่องของ Search Engine ที่เราจะต้องไปดูว่าควรจะทำอย่างไรให้คนกลุ่มต่างๆเข้าใช้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น”

            นี้เป็นเพียงสิ่งแรกที่ผู้เข้าอบรมต้องรู้ถึงจุดประสงค์และความหมาย ขั้นต่อไป เป็นขั้นตอนลงมือปฎิบัติจริง พร้อมกับเอกสารการเรียนรู้ประกอบไปอย่างช้าๆ เริ่มตั้งแต่อักษร หรือภาษาคอมที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรม จากคนที่ไม่มีความรู้อยู่เลย จึงทำให้รู้ว่า ยากลำบาก ท้อ เครียด จนถึงวันที่ 3 สำหรับผมถึงกับอาเจียนเลย

          ในฝึกอบรม การเรียนรู้  ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และทุกคนที่เข้าอบรมก็สามารถสร้างเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ บางคนก็ปรับปรุงเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้วออกมาในรูปแบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  แม้จะไม่สวยงามเหมือนเว็บไซต์ทั่วๆไป 

           นายณรงค์ชัย หูตาชัย นศ. โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย)หนึ่งในผู้อบรมเล่าว่า “มีหลายคนอีกหลายคน ที่ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆในเว็บไซต์ สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก นับว่าเป็นโครงการแรกของประเทศไทยที่ทำ เกิดชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยส่วนตัวเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน ก็ได้นำความรู้มาพัฒนาเว็บไซต์มาเรื่อยๆ

            และคิดว่าในอนาคต ถ้าโครงการนี้ถูกสนับสนุนในวงกว้างก็จะทำให้เว็บไซต์มีอนาคตที่ดีกว่านี้ เพราะปัจจุบันเว็บไซต์นั้นยังไม่ถูกหลักมาตรฐานสากล ประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการมา 2 ปี ที่ได้สัมผัสได้เรียนรู้ผู้พิการนั้น จะแบ่งออกเป็น

              1. ยังเข้าไม่ถึง

              2. เข้าถึงโดยได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว  โดยถือว่าเป็นกลุ่มไฮเทค( High Tech) ใช้โปรแกรมที่ประเทศไทยยังไม่ค่อยมี

              ณรงค์ชัย เชื่อว่า “ทุกเว็บไซต์นั้นสามารถทำให้เข้าถึงได้ การที่จะทำเว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยสำหรับการเขียนโปรแกรม เพราะเพียงแค่เพิ่มรายละเอียดเล็กน้อยเท่านั้น โดยผู้ที่ไม่เข้าใจ อาจต้องเรียนเพิ่มเติม ส่วนผู้ที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว นั้นแค่มาเรียนรู้เพิ่มเติมก็จะสามารถพัฒนาไปได้ไกลเลยทีเดียว”

             เช่นเดียวกับ คุณสุวิภาภรณ์ ศุภประเสริฐ นักวิชาการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ระดับ 7 เชื่อว่า “การพัฒนาเว็บไซต์ให้ทุกคนเข้าถึงได้ เป็นการสร้างสิทธิให้คนเท่าเทียมกัน ซึ่งแต่เดิมนั้นเราได้มองข้ามไปในสังคม

             จากการพัฒนานี้ อย่างน้อยก็จะนำไปปรับใช้กับ สตง. ซึ่งเว็บที่มีอยู่ก็ให้ประชาชาชนนั้นเข้ามาได้ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส ได้ใช้งานหากตรงนี้ สตง.  ได้นำไปปรับให้ดีขึ้นแล้วเพื่อสนองความต้องการของ คนพิการก็จะสามารถเข้ามาบอกเล่าเรื่องราว หรือแจ้งความเดือดร้อนของตนผ่านทางเว็บไซต์ของ สตง . ได้เช่นเดียวกับคนทั่วๆไป”

             เสียงสะท้อนจากคนคนส่วนหนึ่งที่เห็นคุณค่าเว็บไซต์ที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ล้วนมีแง่คิด ที่สะท้อนต่อสังคมอย่างเห็นได้ชัด แม้นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะพัฒนา ต่อยอดสู่อนาคตและสังคมแห่งการเท่าเทียมกัน แต่นี่…จะช่วยทำให้เกิด “สังคมแห่งข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน” ต่อไป…….

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.