Select Page

นักวิจัยหญิงไทย แจ้งผลวิจัย”ขั้วโลกใต้”ครั้งแรก

นักวิจัยหญิงไทย แจ้งผลวิจัย”ขั้วโลกใต้”ครั้งแรก

“ดร.สุชนา” ยิงตรงสัญญาณรายงานสด ปฏิบัติงานขั้วโลกใต้เจอพายุหิมะหนักหลายสิบครั้ง ส่งสัญญาณตรงจากขั้วโลกใต้ เผยช่วงฤดูหนาวขั้วโลกใต้เจอพายุหิมะหนักถึง 28 ครั้ง และรุนแรงที่สุดถึง 13 ครั้ง เป็นเหตุเรือตัดน้ำแข็งไปไม่ถึงสถานีวิจัย จึงทำงานตามเป้าได้แค่ 30-40%  

 

 tv

               ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ร่วมเดินทางไปกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาญี่ปุ่นคณะที่ 51 หรือจาเร 51 (JARE51) ได้รายงานการปฏิบัติงานที่สถานีวิจัยโชว์วะของญี่ปุ่น เกาะอีส อองกูร์ (East Ongul Island) ทวีปแอนตาร์ติกา ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณสดระหว่างสถานีวิจัยโชว์วะ สถาบันวิจัยแห่งชาติเพื่อการวิจัยขั้วโลก กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น ซึ่งสนับสนุนการวิจัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 
               ทั้งนี้ ดร.สุชนาเผยว่าในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมาทวีปแอนตาร์กติกาเผชิญกับพายุหิมะถึง 28 ครั้ง และในจำนวนนั้น 13 ครั้ง เป็นพายุหิมะรุนแรงที่สุดที่มีการบันทึกมา ทำให้ทะเลน้ำแข็งหรือผิวหน้าทะเลนั้นหนากว่าปกติมาก เรือตัดน้ำแข็งชิเรส (Shirase) ซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงคณะสำรวจ และอุปกรณ์ต่างๆ จึงไม่สามารถตัดน้ำแข็งได้ตามกำหนด คณะสำรวจจึงต้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปลงสถานีวิจัยก่อน ส่วนเรือตัดน้ำแข็งได้ตามมาทีหลังและถึงสถานีวิจัยเมื่อวันที่ 10 ม.ค.53 ที่ผ่านมา ขณะที่ทีมสำรวจได้ถึงสถานีวิจัยตั้งแต่ช่วงปลาย ธ.ค.52 แล้ว 553000000040003
 
                  ผลจากความล่าช้าของเรือทำให้ขาดอุปกรณ์ในการทำวิจัยบางส่วน ดร.สุชนาจึงทำวิจัยตามที่กำหนดไว้ได้เพียง 30-40% แต่ได้พยายามปรับตารางการทำงานเพื่อให้ทำได้ตามกำหนด โดยตลอดการเดินทางโดยเรือตัดน้ำแข็ง 3 อาทิตย์ และเวลาที่ได้ประจำอยู่บนสถานีวิจัยระยะหนึ่ง ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลและแพลงก์ตอนระหว่างเดินทาง เมื่อถึงสถานีได้เก็บตัวอย่างปลาของทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งพบว่านอกจากปลาที่นี่จะทนอุณหภูมิหนาวเย็นได้แล้ว ยังสามารถอยู่ในน้ำทะเลลึกถึง 600 เมตรได้ รวมถึงได้เริ่มขุดเจาะน้ำแข็งขึ้นมาวิเคราะห์ด้วย 
 
                 นอกจากงานวิจัยส่วนตัวและงานวิจัยที่คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลวงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ฝากให้เก็บตัวอย่างกลับมาศึกษานั้น ดร.สุชนายังได้ร่วมสังเกตงานวิจัยของทีมวิจัยญี่ปุ่น อาทิ การปล่อยบอลลูนตรวจสภาพอากาศและโอโซน รวมถึงการตรวจวัดแผ่นดินไหว ซึ่งทวีปแอนตาร์กติกเป็นจุดหนึ่งที่ตรวจวัดการสั่นสะเทือนได้ดี และเมื่อปี 2547 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสึนามิในเมืองไทยก็สามารถวัดการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติได้ 
 
               พร้อมกันนี้ นางศศิวิมล อยู่คงแก้ว สื่อมวลชนไทยที่ร่วมไปกับคณะสำรวจจาเร 51 ได้นำออกไปสำรวจนอกอาคารสถานี โดยสาธิตการออกเดินสำรวจว่าแต่ละคนจะมีไม้แท่งยาวสำหรับกระทุ้งทางก่อนก้าวเดิน เพื่อประเมินว่าพื้นที่บริเวณนั้นอันตรายหรือไม่ โดยภายนอกขณะนั้นมีอุณหภูมิประมาณ -4 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนของทวีปแอนตาร์กติกาอยุ่ที่ประมาณ -1 องศาเซลเซียส และบริเวณสถานีวิจัยมีอาคารสำหรับทำวิจัยและอยู่อาศัย มีลักษณะคล้ายตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่สีเหลืองและสีส้ม ซึ่งทีมสำรวจประจำฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในอาคารนี้นานถึง 14 เดือน ขณะที่ทีมสำรวจฤดูร้อนอยู่เพียง 2 เดือน 
 
               สำหรับการสำรวจและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของทวีปแอนตาร์กติกานั้นเกิดขึ้นจากการประชุมในปีภูมิศาสตร์สากล (International Geophysical Year) เมื่อปี 2500-2501 ซึ่งมีการตกลงของ 12 ประเทศที่ให้ความร่วมมือและลงนามภายใต้สนธิสัญญาว่าด้วยทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctic Treaty) เมื่อ 1 ธ.ค.02 ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อให้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นสมบัติของมนุษยชาติ ห้ามกิจกรรมทางการทหารและการพาณิชย์ ยับยั้งการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน แต่ส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัย 

ที่มา : นสพ. มติชน

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.