สูตรอาหารไทยฮ็อต “แม่บ้านญี่ปุ่น”ขอเป็นศิษย์
“อาหารไทย” อร่อยไม่แพ้ชาติไหนในโลก แม้กระทั่งชาวแดนอาทิตย์อุทัย ชาติที่ขึ้นชื่อว่า “ชาตินิยมจ๋า” ก็ยังโปรดปราน โดยเฉพาะเหล่า “แม่บ้านชาวญี่ปุ่น” ที่ติดอกติดใจขนาด “เทกคอร์ส” เรียนทำอาหารไทยอย่างเป็นจริงเป็นจัง
“โอ๊ย อาหารไทยน่ะเหรอ คนญี่ปุ่นยกนิ้วให้ ชอบรับประทานกันทุกเพศทุกวัน”
นางพิมพ์ใจ มัตสุโมโต้ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมไทยศึกษาในกรุงโตเกียวเอ่ยปากขึ้นอย่างภูมิอกภูมิใจ ซึ่งเธอและทีมงานได้มาร่วมออกบู๊ธโชว์ความอร่อยของอาหารไทยและความสวยงามของศิลปะแกะสลักผักผลไม้ไทย ในงานโรดโชว์ความพร้องของประเทศไทยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2553 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่กำลังตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยได้ลองลิ้มรส
“เมนูอาหารที่แม่บ้านญี่ปุ่นนิยมเรียก ก็หนีไพ้นเมนูขึ้น ชื่ออย่าง ผัดไทย ต้มยำกุ้ง แกงเขียงหวาน กะเพราไก่ และอาหารทานเล่น อย่างม้าห้อ เขาบอกว่าอาหรไทยมีรสชาติกลมกล่อม รับประทานแล้วสุขภาพดี เพราะมีส่วนผสมของสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด” ผอ.สถาบันเผย
ไม่ใช่แคอาหารไทยเท่านั้น “แกะสลักผัก-ผลไท้” ก็กำลัง “ฮ็อต” มนกลุ่มแม่บ้านญี่ปุ่นอีกทั้งอาจารย์ผู้สอนยังเป็นชาวญี่ปุ่นแท้ๆ แถมยังเป็นผู้ชายอีกด้วย
“สวัสดีครับ” นายนากามูระ ฟูจิโอะ อาจารย์หนึ่งเดียวผู้สอนแกะสลักประจำสถาบัน เข้ามาทักทายด้วสำเนียงแปร่งๆ พร้อมกับเล่าถึงความประทับใจแกะสลักไทยว่า
“แกะสลักเป็นงานที่มีความสวยงามมากช่วยเพิ่มสีสันให้กับจานอาหาร เพียงมีดด้ามเดียว ก็สามารถเนรมิตความอ่อนช้อยงดงามลงบนจานอาหารได้ เป็นสิ่งดีที่ญี่ปุ่นไม่เคยมี” เขาเล่าด้วยภาษาญี่ปุ่น โดยมีนางพิมพ์ใจ เป็นล่ามแปลอยู่ข้างๆ
ด้วยเหตุนี้เขาจึงตัดสินใจเรียนแกะสลักที่ประเทศไทย และบินกลับมาฝึกปรือฝีมือที่ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นของนางพิมพ์ใจ และเมื่อนางพิมพ์ใจเปิดสถาบัน เมื่อ 2 ปีก่อน เจงได้ขึ้นแท่นเป้นอาจารย์สอนแกะสลักเต็มตัว
“การสอนแกะสลักของผมไม่มีหลักสูตรตายตัว แต่กำหนดรอบกว้างๆ ว่า จะสอนแกะสบู่ ผักและผลไม้ ผลงานจะออกมาสวยงามแค่ไหนต้องอยู่ที่ฝีมือและความชำนาญ ทำให้กลุ่มผู้เรียน มีทั้งมาเรียนครั้ง 2 ครั้งก็เลิก เพราะไม่มีเวลา แต่ส่วนใหญ่ใจรัก ก็จะหาเวลาว่างมาเรียนต่อเนื่อง 1-2 ปี พอเรียนจบก็นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยเฉพาะตกแต่งจานอาหารให้สวยงาม ตกแต่งข้าวกล่องให้ลูกไปรับประทานที่โรงเรียน” นากามูระบอก
ตลอด 2 ปีที่เปิดสถาบันมา จึงมีแม่บ้านญี่ปุ่นมาเรียนทำอาหารไทยกว่า 300 คน ส่วนแกะสลักประมาณ 200 คน โดยในหนึ่งคอร์ส จะเรียนประมาณ 4 ครั้ง ครั้งละ 2 ชม. ค่าเล่าเรียนก็ถูกแสนถูก แกะสลัก 4,000 เยน คิดเป็นเงินไทย 1,500 บาท ส่วน อาหารไทยถูกลงไปอีกเพียง 1,000 เยนคิดเป็นเงินไทย 380 บาทเท่านั้น
“ที่คิดค่าเล่าเรียนถูก เพราะอยากประชาสัมพันธ์ของดีของประเทศเราให้คนญี่ปุ่นรู้จักมากๆ คนญี่ปุ่นอยากมาเที่ยวประเทศไทยเยอะ เขาสนใจในวัฒนธรรมไทยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ถ้าอาหารไทยได้รับการเผยแพร่มากเท่าไหร่ คนจะรู้จักเมืองไทยไปทั่วโลก ดูอย่างประเทศญี่ปุ่นคนทั่วโลกรู้จักเขาก็เพราะอาหารและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์” ผอ.สถาบันทิ้งท้ายว่า คนต่างชาติยังเป็น “คุณค่า” วัฒนธรรมไทย แล้วคนไทยล่ะ?
ที่มา : นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 18 ก.พ. 2553