Select Page

เปิดตัว 3เด็กไทยร่วมทดลองท่องอวกาศที่ญี่ปุ่น จากเทคโนฯบางมด-ดรุณสิกขาลัย

เปิดตัว 3เด็กไทยร่วมทดลองท่องอวกาศที่ญี่ปุ่น จากเทคโนฯบางมด-ดรุณสิกขาลัย

ทีมเด็กไทยเตรียมเดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อร่วมท่องอวกาศกับสถานีอวกาศนานาชาติแจ็กซ่า (JAXA) ในเดือน มี.ค.นี้ พร้อมเปิดรับสมัครในโครงการปีที่ 5 หลังจากผลงานผ่านการคัดเลือกร่วมท่องอวกาศกับสถานีอวกาศนานาชาติแจ็กซ่าภายใต้โครงการThailand Zero-Gravity Experiment ซึ่งทีมเยาวชนกลุ่มนี้ได้รับทุนจาก สวทช.ในการพัฒนาชุดการทดลองและการเดินทาง เป็นตัวแทนประเทศไปทำการทดลองในสภาวะไร้น้ำหนักบนเที่ยวบินพาราโบลิก

          ทีมเด็กไทยเตรียมเดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อร่วมท่องอวกาศกับสถานีอวกาศนานาชาติแจ็กซ่า (JAXA) ในเดือน มี.ค.นี้ พร้อมเปิดรับสมัครในโครงการปีที่ 5

          สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือกร่วมท่องอวกาศกับสถานีอวกาศนานาชาติแจ็กซ่า ภายใต้โครงการ Thailand Zero-Gravity Experiment ได้แก่ ผลงานเรื่องการรั่วซึมของน้ำบนผิวผ้าในสภาวะแรงโน้มต่ำของ นายวเรศ จันทร์เจริญ นายจักรภพ วงศ์วิวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนายวศิน ตู้จินดา จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่งทีมเยาวชนกลุ่มนี้ได้รับทุนจาก สวทช.ในการพัฒนาชุดการทดลองและการเดินทาง เป็นตัวแทนประเทศไปทำการทดลองในสภาวะไร้น้ำหนักบนเที่ยวบินพาราโบลิก ที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 23-25 มี.ค.นี้
          ทีมเยาวชน กล่าวว่า รู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ขึ้นทำการทดลองบนเครื่องบินที่บินในรูปแบบของพาราโบลา คือ โค้งขึ้น-ลงเป็นรูปคลื่น ทำให้เกิดสภาวะไร้น้ำหนักประมาณ 20 วินาที เพื่อทำการทดลอง และใช้กล้องวิดีโอบันทึกผลการทดลอง จำนวน 8-10 ครั้งต่อ 1 เที่ยวบิน จำนวน 2 เที่ยวบิน โดยหวังว่าจะได้ประสบการณ์ ความรู้เป็นพื้นฐานในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต
          นอกจากนี้ สวทช.ยังได้ประกาศเปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษาที่สนใจ ส่งข้อเสนอโครงการเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองในปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ภายในวันที่ 31 พ.ค. เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมเพียง 1 โครงการ ไปขึ้นทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาราโบลาที่ญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค. 2553 หรือ มี.ค. 2554

ที่มา: มติชนออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.