Select Page

ยานเบาลาดตระเวน ติออาวุธไฮเทคสู้โจรใต้ ฝีมือตำรวจ”ตาก”

ยานเบาลาดตระเวน ติออาวุธไฮเทคสู้โจรใต้ ฝีมือตำรวจ”ตาก”

 “พาราเลน” ต้นแบบดังกล่าวใช้เครื่องยนต์จักรยานยนต์เก่ามาดัดแปลง ติดตั้งร่มขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์ วิทยุสื่อสาร เครื่องนำทางจีพีเอส กล้องถ่ายวิดีโอ กล้องบันทึกภาพ อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ และติดเกราะกันกระสุนปืน ติดตั้งปืนเล็กยาว เอ็ม 16 สำหรับป้องกันตนเอง 

         พ.ต.ท.กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 3) พิสูจน์หลักฐาน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ใช้เวลาค่อนวันในการทดสอบเครื่องต้นแบบ “พาราเพลน” อากาศยานลาดตระเวนเบาที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อดูว่าสามารถขึ้นลงสนามบิน กก.ตชด.ที่ 34 ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน

          ผลการทดสอบซึ่งมี นายธานี แป้นสุข เป็นนักบินผู้ทดสอบพบว่าพาราเพลนลำดังกล่าวสามารถขึ้นลงได้เป็นที่น่าพอใจ ขณะที่ผลการใช้อาวุธปืนสงคราม ที่ติดตั้งบนอากาศยานได้ผลเยี่ยม

          พ.ต.ท.กฤษฎากรและคณะวิจัยกำลังวางแผนออกแบบสร้างเครื่องพาราเพลนขนาด 2 ที่นั่งอีกลำ

          ถ้าผลการทดลองเป็นไปตามเป้าหมายจะนำพาราเพลน 2 ที่นั่งไปปฏิบัติภารกิจบินลาดตระเวน และคุ้มกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

          พ.ต.ท.กฤษฎากร เชวงศักดิ์โสภาคย์กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ว่าก่อนหน้านี้เคยทำงานวิจัยร่วมกับคณะวิจัยหุ่นยนต์และเทคโนโลยี ที่มี น.อ.ชูชาติ จิตตรีเหม และ อาจารย์กิติศักดิ์ แต้มทอง ประดิษฐ์รถหุ่นยนต์กู้ทำลายวัตถุระเบิด 2 คัน ส่งไปปฏิบัติการเก็บกู้ทำลายระเบิด ให้กับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาสพบว่าได้รับความสำเร็จดีทีเดียว

          “ต่อมาคณะวิจัยค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ายานพาหนะใดที่ใช้ในการลาดตระเวนอย่างปลอดภัย มีราคาถูก ใช้งานและซ่อมบำรุงง่ายพบว่าพาราเพลนน่าจะเหมาะสมที่สุด” พ.ต.ท.กฤษฎากรเผยที่มาPHTO00012

         พาราเพลนต้นแบบใช้นักบิน 1 คน บินได้นาน 2 ชั่วโมง ด้วยความเร็วประมาณ 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์จักรยานยนต์เพียง 3 ลิตร ถือเป็นอากาศยานลาดตระเวนที่ประหยัดที่สุดชนิดหนึ่ง

          เมื่อถามว่าพาราเพลนจะเสี่ยงหรือไม่หากนำไปใช้ในพื้นที่ชายแดนใต้ พ.ต.ท.กฤษฎากรกล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่าปกติการใช้อาวุธปืนเล็กยาว เมื่อยิงขึ้นฟ้ากระสุนจะเป็นยิงวิถีโค้ง สูงไม่เกิน 100 มตร พาราเพลนบินสูงกว่า 200-300 เมตร ไม่เป็นอันตราย

          “เรายังติดตั้งเกราะฟิล์มป้องกันพาราเพลนตลอดลำตัว ฉะนั้นกระสุนปืนไม่สามารถเจาะถึงตัวเครื่องและนักบินได้ เรียกว่าเราได้ป้องกันปัญหาไว้ทั้งหมดแล้ว” พ.ต.ท.กฤษฎากรย้ำ

          พ.ต.ท.กฤษฎากรยังชวนเชิญเพื่อนนักบินพารามอเตอร์ที่สนใจ พร้อมจะเป็นอาสาสมัครในการบินทดสอบ ประเมินผลการใช้งานจริง ในพื้นที่ภาคใต้ แจ้งความจำนงมายังคณะผู้วิจัยพัฒนาพาราเพลนขณะเดียวกันยังต้องการให้หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน หันมาให้ความสำคัญในการทำงานวิจัย สร้างต้นแบบอากาศยานเบาพาราเพลน ขนาด 2 ที่นั่ง

          ทางด้าน รศ.นพ.ชลลิศ สินรัชดานันท์อดีตเลขาธิการสมาคมสโมสรการบินพลเรือนประเทศไทย และครูฝึกการบิน เปิดเผยว่าจ.ตาก มีสนามบินเหมาะเป็นสนามฝึกบินพื้นที่รอบข้างรัศมีกว่า 30 ตารางกิโลเมตรไม่มีต้นไม้และตึกสูงบดบังทัศนวิสัยในการบิน01643_7

          “ที่นี่เหมาะมาก ผมเห็นด้วยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก ที่จะเปิดคณะเทคโนโลยี วิศวกรรมการบิน และใช้สนามบินแห่งนี้ เป็นศูนย์ซ่อมเครื่องบิน เป็นแหล่งผลิตอากาศยานเบาพาราเพลน พารามอเตอร์ ที่สำคัญที่ตากมีสนามบินที่ไม่ได้ใช้งานมากถึง 4 แห่ง สนามบินตาก สนามบินแม่สอด สนามบินเขื่อนภมิพล อ.สามเงา และสนามบิน อ.อุ้มผางเพียงพอที่จะรองรับการฝึกบินนักบินสมัครเล่น และนักบินพาณิชย์” รศ.นพ.ชลลิศ ให้ความเห็น

          นายกิจจา ไชยทุน รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเปิดกรอบคณะเทคโนโลยีการบิน วิศวกรรมอากาศยาน ใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอน เนื่องจากเปิดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นประโยชน์ในเรื่องการสร้างและซ่อมบำรุงอากาศยาน

          “เรามีสนามบินตาก เป็นสนามที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปล่อยให้ร้าง จะจับมือกับกรมการบินฯ เปิดให้สนามบินตากเป็นศูนย์ซ่อมและฝึกบิน เท่าที่ทำได้ในเบื้องต้น เราสามารถร่วมผลิตพาราเพลน อากาศยานเบา ร่วมกับคณะวิจัยฯ หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน” นายกิจจาให้ความเห็น

          พ.ต.ท.กฤษฎากรบอกอีกว่า พาราเพลนยังใช้ประโยชน์ในการบินลาดตระเวนป้องกันปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าติดตามกลุ่มขนยาเสพติด แรงงานต่างด้าวอีกทั้งมีประโยชน์ในการสำรวจป่าชุมชนระบบชลประทาน

          ค่าใช้จ่ายพาราเพลนพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ประมาณลำละ 300,000 บาทเท่านั้น

          เปรียบเทียบกับบอลลูนยักษ์ ที่กองทัพบกจัดซื้อเพื่อบินลาดตระเวนทางอากาศในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีราคาสูงถึง 350 ล้านบาท พาราเพลนถูกกว่ามาก แถมยังใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า

     ที่มา : นสพ.มติชน วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.