Select Page

แผ่นดินไหว ตอนที่ 1

เหตุแผ่นดินไหวบริเวณศูนย์กลางในประเทศพม่า ที่สำนักธรณีวิทยาสหรัฐวัดได้ 6.8 ริกเตอร์  เมื่อค่ำ วันที่ 24 มี.ค.2554 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมหลายร้อยคน  ส่งผลกระทบต่อประชาชนอีกเรือนหมื่น  ความรุนแรงยังส่งผลมาถึง จ.เชียงราย และอีกหลายจังหวัดของประเทศไทย ทำ ให้คนไทยเริ่มตระหนักรู้แล้วว่า แผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  ดังนั้น มาเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหวกันเพื่อเตรียมรับมืออย่างชาญฉลาดกันดีกว่าค่ะ

เรียบเรียงโดย :สายสวรรค์ ขยันยิ่ง

ขอบคุณคลิปวิดีโอรายการถอดรหัสพิบัติภัยจากสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา[ETV]

 

                ดิฉันได้มีโอกาสเป็นพิธีกรรายการ ถอดรหัสพิบัติภัยทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ [ETV] เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้ความรู้จากวิทยากรของรายการ คือคุณสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ซึ่งขณะนั้นท่านดำ รงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ด้วยความเป็นนักธรณีวิทยาที่เชี่ยวชาญ  จึงสามารถอธิบายเรื่องพิบัติภัยต่างๆ อันเกิดจากธรรมชาติของธรณีวิทยาได้อย่างสนุก เข้าใจง่าย  ดิฉันจึงได้นำ เอาคลิปรายการตอนที่เข้ากับสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิมาถอดเทป เรียบเรียง เพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนที่เป็นปัจจุบันลงไป รวมทั้งตัดคลิปให้มีความยาวพอดีกับการอัพโหลดทาง Youtube ให้ทุกท่านได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะ

                เริ่มตอนแรกนี้ เป็นเรื่องแผ่นดินไหว ซึ่งอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีอธิบายให้ฟังว่า

         โลกของเราแบ่งเป็น 3 ส่วน  คือ แกนชั้นใน  ส่วนกลาง และส่วนที่เป็นเปลือกโลก ซึ่งส่วนที่เป็นเปลือกโลกนี่เอง ที่ข้างใต้ของมันมีคลื่นความร้อนหมุนเวียนอยู่ ทำ ให้เปลือกโลกเกิดการขยับตัวอยู่ตลอด ไม่หยุดนิ่ง บางครั้งแผ่นทวีปหนึ่งก็ขยับมาชนกับอีกแผ่นทวีปหนึ่ง  บางครั้งแผ่นมหาสมุทรก็มุดลงไปใต้แผ่นทวีป  เช่น บริเวณเกาะสุมาตรา ซุนด้า เทรนช์คือแผ่นมหาสมุทรอินเดีย มุดลงใต้แผ่นทวีป

          เกิดแผ่นมหาสมุทร มุดลงใต้แผ่นทวีปแรงๆ สิ่งที่จะตามมาก็คือ เกิดการหลอมละลายของหินใต้บริเวณนั้น ทำ ให้เกิดภูเขาไฟระเบิดได้ ก่อนภูเขาไฟจะระเบิด  แม็กม่าหรือหินหลอมเหลวใต้โลกก็จะขยับเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวโลก  ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน

          ส่วนขนาดของแผ่นดินไหวที่เรียกว่า ริกเตอร์จะขนาดใหญ่หรือเล็กนั้น ขึ้นอยู่กับความเครียดของเปลือกโลก ซึ่งมันต้องการปลดปล่อยพลังงานออกมา  จุดศูนยนย์กลางแผ่นดินไหว  จะอยู่ใต้เปลือกโลก  หมายถึงบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมุดกันจนเกิดความเครียด

          มาตราริกเตอร์”  ภาษาอังกฤษ เรียก แม็คนิจูดแต่ผู้ที่คิดค้นชื่อนายริกเตอร์ จึงนิยมเรียกกันว่า มาตราริกเตอร์  ซึ่งเป็นการวัดขนาด  ไม่ใช่ความแรง  ซึ่งขนาดของแผ่นดินไหวนั้น ไม่ว่าจะวัดจากที่ไหนก็จะวัดได้ตรงกัน  ขนาดเริ่มจาก  0 แต่ไม่มีขนาดใหญ่ที่สุด 

          ความรุนแรงของแผ่นดินไหว  มีมาตราเป็น เมอร์คัลลี”  ซึ่งวัดเป็นระดับต่างๆ ดังนี้

 ระดับ 1 เมอร์คัลลี  คนธรรมดาจะไม่รู้สึก แคต่เครื่องวัดสามารถตรวจจับได้

ระดับ 2 เมอร์คัลลี(อ่อน) คนที่มีความรู้สึกไว จะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเล็กน้อย

 

ระดับ 3 เมอร์คัลลี (เบา)คนที่อยู่กับที่จะรู้สึกว่าพื้นสั่น

ระดับ 4 เมอร์คัลลี (พอประมาณ) คนที่สัญจรไปมารู้สึกได้

ระดับ 5 เมอร์คัลลี(ค่อนข้างแรง)คนที่นอนหลับก็ตกใจตื่น

ระดับ 6 เมอร์คัลลี( แรง)ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง สิ่งปลูกสร้างบางชนิดพัง

ระดับ 7 เมอร์คัลลี (แรงมาก)ฝาห้องแยกร้าว กรุเพดานร่วง

ระดับ 8 เมอร์คัลลี(ทำ ลาย)ต้องหยุดขับรถยนต์  ตึกร้าว ปล่องไฟพัง

ระดับ 9 เมอร์คัลลี (ทำ ลายสูญเสีย)บ้านพังตามแถบรอยแยกของแผ่นดิน ท่อน้ำ   ท่อก๊าซขาดเป็นตอนๆ

ระดับ 10 เมอร์คัลลี(วินาศภัย) แผ่นดินแตกอ้า ตึกแข็งแรงพัง รางรถไฟคดโค้ง ดินลาดเขาเคลื่อนตัวหรือถล่มตอนชันๆ

ระดับ 11 เมอร์คัลลี(วินาศภัยใหญ่) ตึกถล่ม สะพานขาด ทางรถไฟ ท่อน้ำและสายไฟใต้ดินเสียหายแผ่นดินถล่ม น้ำ ท่วม

ระดับ 12 เมอร์คัลลี(มหาวิบัติ) ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นดินแถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง  พื้นดินเคลื่อนตัวเป็นลูกคลื่น

            กรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีวัดคลื่นแผ่นดินไหวอยู่มากกว่า 20 สถานี    แต่เหตุที่เราต้องอ้างอิงข้อมูลจากกรมธรณีวิทยาของสหรัฐ  ก็เพราะเขามีสถานีอยู่ทั่วโลก  รวมถึงในประเทศไทยก็ตั้งอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ด้วย เขาจึงมีขอบข่ายการวัดแผ่นดินไหวครอบคลุมไปทั่วโลก โดยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดของไทย 5.6 ริกเตอร์ เกิดขึ้นที่ ท่าสองยาง จ.ตาก  เมื่อปี พ..2518

                ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ค่อยประสบเหตุแผ่นดินไหวถี่เหมือนกับเพื่อนบ้านเราอีกหลายประเทศ แต่ก็ทราบกันดีว่า เรามีพื้นที่ที่ปรากฎรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ทรงพลัง พร้อมที่จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น เรียนรู้ เข้าใจ และเตรียมรับมือแผ่นดินไหวกันให้พร้อมค่ะ

 

(ชมคลิปวิดีโอ)

 

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.