แผ่นดินไหว ตอนที่ 2
การที่กรุงเทพฯเคยเป็นทะเลเมื่อ 6,000 ปีมาแล้ว จึงมีสภาพดินที่เป็นโคลนทะเล ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ค่อนข้างมาก ขณะที่เขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี ก็ตั้งขวางลำ น้ำ 2 สายตามแนวรอยเลื่อนรอยยาว แม้จะได้รับการยืนยันว่าสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ถึง7 ริกเตอร์ แต่เราก็ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด และต้องทำ การบ้านกันให้มากขึ้น
เรียบเรียงโดย : สายสวรรค์ ขยันยิ่ง
ขอบคุณคลิปวิดีโอรายการ”ถอดรหัสพิบัติภัย”จากสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา[ETV]
โอกาสที่เราจะต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นั้นมี แต่ก็ไม่มีใครสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ หรืออย่างดีที่สุดก็คือรู้ล่วงหน้าแค่ 2-3 นาที เพราะการเกิดแผ่นไหวนั้น มันจะมี Fore Shock หรือการเกิดเตือน ก่อนจะเกิด Main Shock หรือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แล้วหลังจากนั้นก็จะเกิดแผ่นดินไหวตามมา หรือ After Shock
คนกรุงเทพฯที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอาคารสูง จะรู้สึกวิตกมาก แม้ว่าความเป็นจริงแล้ว อาคารสูงๆ นั้นจะไหวอยู่ตลอดเวลา แค่ลมพัดมันก็จะโอนเอนแล้ว เพียงแต่ว่าเอนแค่ไหนมันจะพัง ก็เป็นเรื่องทางวิศวกรรม แต่ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำ ให้ในกรุงเทพฯนั้นรู้สึกได้ง่าย ก็คือชั้นดินของกรุงเทพ ฯ ตั้งแต่ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ มา เมื่อก่อนเป็นทะเล กรุงเทพฯเมื่อ 6,000 ปีที่แล้ว เป็นทะเลไปจนถึงสระบุรี ต่อมาเมื่อทะเลถดถอยลงไปจึงกลายเป็นบกเช่นปัจจุบัน แต่เนื่องจากการที่เคยเป็นทะเลมาก่อนนี่เอง จึงมีโคลนทะเล ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ เวลาเกิดคลื่นที่ไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหวไม่ว่าจะมาจากไหนก็ตาม เมื่อมาถึงชั้นดินที่ว่านี้ มันจะทำหน้าที่เป็น Amplifier หรือเครื่องขยาย เมื่อมีคลื่นสั่นสะเทือนมาแค่ไหน มันจะขยายออกไปอีก 2-3 เท่า จึงทำให้รู้สึกว่าแผ่นดินมันไหวรุนแรงขึ้น ส่วนต่างจังหวัดนั้น ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่เคยถูกผลกระทบจากสึนามิ เมื่อปี 2547 ก็จะรู้สึกมาก ส่วนภาคเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน ลงมาถึงกาญจนบุรี พื้นที่เหล่านี้ยังมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ เพราะฉะนั้นอาจจะได้รับผลจากรอยเลื่อนที่มันขยับตัวภายในประเทศ ขนาด3-4 ริกเตอร์ เราก็อาจรู้สึกได้นิดหน่อย ส่วนในประเทศพม่า ก็มีรอยเลื่อนสะแกง ตามแม่น้ำสะแกง ที่เราต้องเฝ้าระวัง
สิ่งที่ท่านอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเป็นห่วง คือประชาชนที่อยู่ใน จ.กาญจนบุรี รวมไปถึงจังหวัดที่อยู่ใต้กาญจนบุรีลงมาจนถึงกรุงเทพฯ เพราะมีเขื่อน2 เขื่อน คือ เขื่อน ศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ตั้งขวางลำ น้ ำ แควใหญ่และแควน้อย ซึ่ง ไหลตามรอยแตกหรือรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยาวมาก และเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่
หลายคนก็คงสงสัยว่าทำ ไมจึงไปสร้างเขื่อนขวางบริเวณนั้น ถ้าเกิดแผ่นดินไหวแล้วเขื่อนจะแตกหรือไม่ คุณสมศักดิ์ได้ออกตัวว่า ท่านเป็นนักธรณีวิทยา ไม่ใช่วิศวกร แต่เมื่อตอนที่จะสร้างเขื่อนขึ้นบริเวณนั้น ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เขาก็ได้ศึกษาแล้ว โดยหากเกิดแผ่นดินไหวห่างจากตัวเขื่อนไป 100-200 กิโลเมตร ที่ขนาด 7 ริกเตอร์ เขื่อนนี้ก็สามารถรับได้ แต่หากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใต้เขื่อน จะเป็นอย่างไร??? เรื่องนี้ ทาง กฟผ.ก็ได้ทำ หนังสือยืนยันมายังกรมทรพยากรธรณี ว่าเขื่อนของเขาทุกเขื่อน จะไม่แตก!!! แต่อย่างไรก็ดี เราจะอยู่กับภัยธรรมชาติ หรือธรณีพิบัติภัยเหล่านี้ได้อย่างไร ขั้นแรกเราก็จะต้องมีความรู้ว่าภัยธรรมชาติแต่ละชนิดมันมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะหลบหลีกอันตรายเหล่านั้นได้อย่างไร
โดยปกติมนุษย์เรามีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดได้อยู่แล้ว แต่หากไม่มีความรู้ก็จะวิ่งเข้าไปหามัน แผ่นดินไหวใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที หรือ 1-2 นาที ถ้าเรารู้สึกว่าแผ่นดินไหว หากเรารีบวิ่งกรูกันลงมาทางบันไดหนีไฟ ก็อาจลงมาเหยียบกันตาย หากหนีลงลิฟท์ เมื่อระบบไฟฟ้าถูกตัดขาด ท่านก็ติดอยู่ในลิฟท์ ตายเหมือนกัน….
ที่ประเทศญี่ปุ่น เขาสอนกันตั้งแต่เด็กๆ เลยว่า หากเกิดแผ่นดินไหว ในขณะที่เราอยู่ในห้อง ก็รีบหาที่ปลอดภัยที่สุดในห้อง เช่น มุดลงไปใต้โต๊ะ(ที่แข็งแรง) เพราะหากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาดที่ทำให้บ้านพังได้ มันก็จะพังลงมาภายในเวลาไม่กี่นาที คนที่อยู่ใต้โต๊ะก็อาจจะมีช่องอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะมีคนเข้าไปช่วยในเวลาต่อมา และแม้บ้านไม่พัง แต่แผ่นดินไหวจนข้าวของที่ตั้งวางอยู่ในที่สูงตกหล่นกระจาย เราก็มีโต๊ะเป็นที่กำ บังอยู่ ช่วยลดการบาดเจ็บได้
มีเรื่องหนึ่งที่เป็นอันตรายใกล้ตัว ก็คือ ปัจจุบัน เราใช้แก๊สหุงต้มกันแทบทุกครัวเรือน เมื่อเกิดแผ่นดินไหว อยากจะให้รีบปิดวาล์วแก๊สเสียก่อน เพราะสายแก๊สอาจจะหลุดหรือขาด เป็นเหตุให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ซ้ำ เติมเหตุการณ์ให้ร้ายแรงขึ้นไปอีก
ที่สำคัญที่สุด คือการตั้งสติ หากสติแตกเสียแล้ว ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อเอาชีวิตรอดได้เลย !!!!!!!
(ชมคลิปวิดีโอ)