Select Page

คนไทยบูรณะสถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า

คนไทยบูรณะสถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า

พุทธอุทยานลุมพินีวัน ประเทศเนปาล คือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งแรกเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาเยือนหลังพุทธปรินิพพานไปถึง 294 ปี และอีกครั้งในยุคสมัยปัจจุบัน ย้อนไปเพียง 40 กว่าปีเท่านั้น ดังนั้น การที่คนไทยได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพในการบูรณะและพัฒนาสถานที่สำ คัญแห่งนี้ เนื่องในปีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดี และอยากบอกบุญให้ทราบโดยทั่วกัน

เรื่อง/ภาพ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง

          ดิฉันได้เป็นตัวแทนสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมกับสื่อมวลชนอีกหลายสำนัก ติดตามคณะของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย องค์กรที่ตั้งขึ้นดำ เนินกิจกรรมเพื่อสังคมและการกุศล หลังจากที่คุณหญิงหน่อยเว้นวรรคทางการเมือง พักผ่อนอยู่ในบ้านเลขที่ 111 มาหลายปี และดูเหมือนว่า โครงการที่เธอกำ ลังจะพาเราไปดูให้เห็นกับตานี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นโครงการที่เธอภูมิใจที่สุดในชีวิตเท่านั้น แต่ยังมีค่าควรแก่ความภูมิใจในหมู่ประชาชนชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วย

          การเดินทางครั้งนี้ คุณหญิงพาสื่อไปสังเกตุการณ์การลงนามความร่วมมือกับ Lumbini Development Trust (LDT) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดูแลพุทธอุทยานลุมพินีวัน โดยมีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกาฐมาณฑุ และวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล เป็นผู้ประสานโครงการอย่างเข้มแข็ง

           คุณหญิงหน่อยเล่าถึงที่มาด้วยรอยยิ้มและดวงตาเป็นประกายแห่งความสุข ว่าเริ่มจากการที่เธอได้มีโอกาสมาแสวงบุญยังสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยในช่วงที่เดินทางมานั้นเป็นฤดูฝน ทำ ให้พื้นดินเฉอะแฉะ ผู้คนที่มาต่างก็มีดินโคลนเปรอะเปื้อนรองเท้าเต็มไปหมด จะนั่งลงกราบนมัสการตรงไหนก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจด้วยอยากให้เนื้อตัวสะอาดหมดจดมากกว่าที่เป็นอยู่ อีกทั้งดูสภาพทั่วบริเวณแล้วก็ค่อนข้างทรุดโทรมไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธนับถือว่าเป็นสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเมื่อเธอจุดธูปเทียนน้อมรำ ลึกถึงพระพุทธคุณ สวดมนต์อธิษฐานเสร็จสรรพแล้ว ก็พบว่าที่นั่น ไม่มีแม้แต่กระถางธูปที่จะให้ปักธูปเทียนอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า อยากจะทำ สิ่งต่างๆ ขึ้นถวายเป็นพุทธบูชาให้สมเกียรติแห่งพระบรมศาสดา แต่เมื่อเอ่ยปากเสนอความคิด เบื้องต้นก็มีแต่เสียงทักท้วง ว่าคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมา มีใครต่อใคร ทั้งที่เป็นองค์กร และบุคคลสำ คัญจากหลายประเทศ รวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศไทยต่างก็เคยขออนุญาต บูรณะปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ มาหลายครั้งหลายคราว แต่ก็ไม่เคยมีใครได้รับอนุญาตเลย ด้วยกฏกติกาอันเข้มงวดทั้งจากยูเนสโก้ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และรัฐบาลเนปาล แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนกลับ คุณหญิงสุดารัตน์ก็ได้ตั้งอธิษฐานจิตอีกครั้ง ว่าขอให้มีโอกาสได้เข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ อย่างที่ตั้งใจ โดยจะขอทำ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554 นี้ และจะได้เป็นกิจกรรมรวมพลังจากคนไทย เพื่อสร้างสามัคคีธรรมให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติด้วย

         

            ด้วยความเพียรพยายาม ในการติดต่อขออนุญาตจากยูเนสโก้ และรัฐบาลเนปาล โดยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ และวัดไทยลุมพินี ร่วมผลักดันโครงการอย่างเต็มที่ ในที่สุด ข่าวดีก็มาถึงเธอในวันที่ 11/01/2011 คือเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 นี่เอง ว่าทาง
Lumbini Development Trust (LDT) อนุญาตให้ทำการบูรณะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าได้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จึงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทำ งานบุญที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก และมีผู้ใหญ่ที่เคารพแนะนำ ว่า” บุญใหญ่อย่างนี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว แต่ควรบอกบุญให้คนไทยทั่วไปได้มีส่วนร่วมด้วย”

          ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการนำ คณะสื่อมวลชนไปสังเกตุการณ์ถึงอุทยานลุมพินีวัน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่าง LDT กับคณะของไทย ก่อนจะมีการจัดงานเปิดตัวโครงการไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554 ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส และคุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย และประธานโครงการ ร่วมกันแถลงข่าวบอกบุญกันไปแล้ว

          สังเวชนียสถานลุมพินีวันนี้ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานแล้ว 294 ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมานมัสการแล้วได้สร้างพระอารามไว้ พร้อมกับเสาอโศก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสถานที่ประสูติพระบรมศาสดาตามที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นผู้ยืนยัน ตามมาด้วยการขุดค้นทางโบราณคดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำ ให้หลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด

          การพัฒนาครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ เมื่อสมัยที่ท่านอูถั่น ชาวพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 3 และเป็นเลขาฯยูเอ็นคนแรกที่เป็นชาวเอเชีย จึงผลักดันให้มีแผนการพัฒนาลุมพินีในปี พ.ศ.2510 โดยให้เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ ตามมาด้วยการตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาลุมพินีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจำ นวน13 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำ ให้พุทธอุทยานลุมพินีวันได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางแห่งสันติสุขของมวลมนุษยชาติในโลก โดยยึดพระธรรมคำ สั่ งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแนวทาง

          และปี พ.ศ.2554 นี้ ซึ่งเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย จึงมุ่งดำ เนินโครงการนี้ถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

          ขณะนี้ การพัฒนาบางส่วนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว วันที่ดิฉันไปถึงคือช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2554 แรงงานพื้นบ้านชาวเนปาลี กำลังลำ เลียงก้อนอิฐเข้ามาสร้างทางเดินโดยรอบวิหารมายาเทวีอยู่อย่างแข็งขัน คุณหญิงหน่อยเล่าว่า การก่อสร้างต่างๆ ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ เนื่องจากแรงงานพื้นบ้านเหล่านี้ไม่ได้มีความชำ นาญมากนัก เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะช่วยอำ นวยความสะดวกก็ไม่มี จึงค่อยๆ ทำ กันไปตามอัตภาพ ส่วนอิฐและวัสดุต่างๆ ต้องสั่งซื้อมาจากอินเดีย ภายใต้การควบคุมการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จากทาง LDT อย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอน

          ชาวพุทธทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก สามารถร่วมเป็นเจ้าภาพโครงการนี้ได้ตามความศรัทธาค่ะ โดยมีการจัดตั้ง “กองทุนลุมพินีสถาน”ขึ้นให้ร่วมบริจาคเงินสมทบทำบุญได้ กรรมการบริหารกองทุนประกอบด้วยคณะสงฆ์ไทย ตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ จะมอบหมาย และกรรมการที่เป็นฆราวาส ส่วนวัดไทยลุมพินี ซึ่งอยู่ในพื้นที่จะร่วมเป็นกรรมการและเป็นผู้ดูแลให้สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าสวยงามอย่างยั่งยืนตลอดไป

คลิกชมคลิปวีดีโอ

About The Author

aof

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.