Select Page

เชื้อ อี.โคไล ในขนมหวานไทยๆ

เชื้อ อี.โคไล ในขนมหวานไทยๆ

ขนมหวานของไทยล้วนมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ มีกรรมวิธีการทำที่พิถีพิถัน ประณีตบรรจง ทำให้ไทยมีขนมหวานรสชาติอร่อย หอมหวาน สีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ชวนทาน

                กรรมวิธีการทำขนมไทย หากแบ่งตามการทำให้สุก  มีทั้งขนมที่ทำให้สุกด้วยการ กวนและเชื่อม เช่น ตะโก้ ขนมเปียกปูน กล้วยเชื่อม ทองหยอด ฝอยทอง ขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง (ใช้ลังถึง) เช่น ข้าวต้มมัด ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้

                ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ ต้ม ต้มกับกะทิ และขนมที่ทานกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซาหริ่ม ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ นึ่งหรืออบ เช่น ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน ขนมที่ทำให้สุกด้วยการ ทอด เช่น ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด เป็นต้น
                การทานขนมไทยข้างต้นล้วนทานหลังการทำให้สุกด้วยความร้อน ฉะนั้น หากวัตถุดิบ เช่น แป้ง น้ำตาล กะทิ ไข่ ที่เลือกใช้ไม่ได้คุณภาพ ไม่สะอาด และในขณะปรุงหรือผลิต ผู้ปรุงไม่รักษาสุขลักษณะที่ดีเพียงพอ หรือใช้มือสัมผัส หรือภาชนะ อุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาด อาจทำให้ขนมไทยนั้น ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อโรคชนิดต่างๆได้

               เชื้อ อี.โคไล มักพบปนเปื้อนทั่วไปในอาหารดิบ หรือปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หากใช้มือสัมผัสหรืออุปกรณ์ไม่สะอาด เชื้ออาจติดไปกับภาชนะบรรจุ การพบเชื้อนี้ในอาหารยังเป็นการบ่งบอกว่าอาหารนั้นผ่านการปรุง หรือเก็บรักษาไม่ถูกสุขลักษณะด้วย  หากเราทานขนมหวานที่ปนเปื้อนเชื้อตัวนี้เข้าไปจะทำให้มีอาการท้องเสีย และอุจจาระเหลว

               วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขนมหวานไทยๆจำนวน  5 ตัวอย่าง จากย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไล  ผลปรากฏว่าขนมหวานไทยทุกตัวอย่างไม่พบว่ามีเชื้อปนเปื้อนเลย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 หน้า 7

About The Author

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.