Select Page

ท่องเว็บ-แช็ตอย่างไร ปลอดภัย-ไม่เป็นเหยื่อโจร!

ท่องเว็บ-แช็ตอย่างไร ปลอดภัย-ไม่เป็นเหยื่อโจร!

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคดี “อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต” หรือ “ไซเบอร์ไครม์” เกิดขึ้นและตกเป็นข่าวใหญ่นับไม่ถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กลุ่มผู้กระทำความผิดแห่เข้ามาใช้เว็บไซต์จำพวกพูดคุยออนไลน์ (แช็ตออนไลน์) รวมถึงเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นสื่อกลางในการล่า “เหยื่อ” ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์

                                                             เช่น คดีสลดใจล่าสุดสดๆ ร้อนๆ เมื่อ 3 มี.ค. ที่เกิดขึ้นกับนางพันธ์ธีรา โกศลดำรงทรัพย์ เจ้าของร้านเสริมสวย ซึ่งถูกฆาตกรรมเสียชีวิตภายในบ้านพักของตนเองโดยฝีมือของแฟนหนุ่มที่รู้จักกันผ่านเว็บดัง “ไฮไฟว์” (Hi5) และได้ตามมาอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตายได้แค่ 2 เดือน ก่อนลงมือสังหารโหดฝ่ายหญิงและหลบหนีไปพร้อมทรัพย์สินบางส่วน

         หรือก่อนหน้านั้นก็มีกรณีของ “เชอร์รี่ ผุงประเสริฐ” ดาราสาวชื่อดังที่ถูกโจรไซเบอร์ขโมยชื่อ “อีเมล์” เพื่อส่งไปหลอกตุ๋นเงินจากกลุ่มเพื่อนๆ ของเชอร์รี่ได้เงินไปนับแสนบาท

 

        จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “ช่องโหว่” ในโลกไซเบอร์ที่เปิดกว้างให้บรรดามิจฉาชีพได้ใช้เป็นช่องทางประกอบอาชญากรรมได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในแง่มุมของผู้ที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ การรู้ให้เท่าทันสังคมไซเบอร์จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

        “พรชัย จันทรศุภแสง” บรรณาธิการนิตยสารคอมพิวเตอร์ ทูเดย์และนักจัดรายการวิทยุด้านไอที ผู้คร่ำหวอดในวงการมาอย่างยาวนาน ให้ข้อคิดและข้อเตือนใจแก่นักท่องเน็ตที่ไม่อยากตกเป็นเหยื่อโจรไฮเทคทั้งหลายว่า

        “ปัจจุบัน เอาเข้าจริงแล้วเดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่ก็เริ่มใช้ hi5 น้อยลง เพราะมีคู่แข่งเจ้าอื่นเพิ่มขึ้นมา เช่น พวกเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แต่เมื่อรวมๆ กันต้องยอมรับว่าคนไทยใช้งานเว็บเหล่านี้มากขึ้นทุกวัน

       “ที่สำคัญก็คือ อายุของคนที่เข้าไปใช้งานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ โดยส่วนตัวคิดว่าคนที่เข้าไปเล่นส่วนใหญ่จะมีความสุขเวลาอยู่ในโลกเสมือนโลกออนไลน์ ซึ่งจริงๆ แล้ว มันมักจะมีแต่คำโกหกทั้งสิ้น       “คิดว่าโจรผู้ร้ายเหล่านี้มันมีอยู่แล้วในสังคม เช่น ในอดีตคนกลุ่มนี้ก็จะเดินทางไปหลอกหาคนตามผับตามเธค ตัวเหยื่อมักจะเป็นเด็กๆ หรือผู้หญิง แต่เดี๋ยวนี้ยิ่งสะดวกใหญ่ เพราะมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาให้ใช้แทน!”

      ส่วนคำแนะนำสำหรับผู้ที่ยังใช้เว็บชุมชนออนไลน์เพื่อประโยชน์จริงๆ พรชัยระบุว่า

       “ถ้าอยากเล่น อย่าเชื่อคนอื่น 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเขาจะพูดอะไรก็ได้ เราไม่สามารถเชื่อได้ทันที หรือบางที เวลาเราคุยกันไปแล้ว รู้สึกว่าพบคนหัวอกเดียวกัน เป็นคนแบบเดียวกัน แล้วถ้าเขาชวนไปทำเรื่องแย่ๆ เหมือนกันเราจะไปไหม เราก็ไม่จำเป็นต้องไป

      “อย่างเมื่อหลายปีก่อน ผมอ่านหนังสือนิยายไต้หวันเกี่ยวกับการฆาตกรรมโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงสามคน ต่างสถานที่และไม่รู้จักกัน แต่ทุกคนล้วนเผาตัวเองตายในห้องพัก สรุปตอนท้ายคือฆาตกรเป็นคนใกล้ชิดที่ฆ่าเหยื่อเพื่อหวังเงินประกัน และใช้วิธีการแช็ต ออนไลน์ในการกล่อมเหยื่อ

       “บางทีคนใกล้ตัวก็อันตรายกว่าคนไกลตัว โจรผู้ร้ายพวกนี้พยายามจะใช้อินเตอร์เน็ตมาเป็นสื่อเพื่อเข้าถึงตัวเรา เพื่อมาตีสนิท มาเป็นคนใกล้ตัวเราให้ได้นั่นเอง” พรชัย กล่าว

       สรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใน “โลกแห่งความจริง” หรือ “โลกเสมือนทางอินเตอร์เน็ต” ล้วนไม่ควรไว้วางใจใครง่ายๆ

แนวทางดีที่สุดในการใช้งานเว็บชุมชนออนไลน์ต่างๆ ควรจะเป็นไปในทางก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์จะปลอดภัยและดีที่สุด!

 

ที่มา : นสพ.ข่าวสด วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2553  

 

About The Author

aof

4 Comments

  1. 444

    ส่วนใหย่ถ้าท่องเว็บ-แช็ตก็ไม่ควนเชื่อใจใครอยู่แล้วค่ะ ขอบคุณสำลับข้อมูลค่ะ

  2. ning

    ดีแล้วล่ะค่ะ เล่นเน็ทอย่างมีเป้าหมายและมีสติ อินเทอร์เน็ทก็จะมีประโยชน์สำหรับเรานะคะ

  3. หน่อย

    อินเตอร์เน็ต เหมือนดาบสองคม อยู่ที่คนใช้ ว่าจะใช้ไปในทิศทางใหน อย่างไรซะการรู้จัก หรือพูดคุยกับใครสักคน วิธีเก่าๆผ่านการเห็นด้วยตา การทักทายด้วยคำพูด และการสัมผัสตัวตนของคน น่าจะดีกว่านะ

  4. ning

    ใช่แล้วจ้ะเพื่อนหน่อย…ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะจ๊ะ

Leave a reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.